วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาทฤษฎีพัฒนาการ

การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของบรุนเนอร์

          * กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน


            * การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
            * การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
            * ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
            * การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
            * การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี



            * การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
            * การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครูสามารถจัดการสอนเนื้อหาวิชาใด ๆ ให้กับเด็กในช่วงใดของชีวิตก็ได้ ถ้ารู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสม สำหรับวัยรุ่น วัยนี้สามารถคิดอย่างมีเหตุผล แต่อาจจะมิใช่เหตุผลดังที่ผู้ใหญ่คิดดังนั้น ครูอาจทราบเหตุผลของเด็กได้โดยการกระตุ้นให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และการเขียนรายงานโดยไม่มีคะแนน


        จากขั้นพัฒนาการต่าง ๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการ ศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้

ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น

         บรูเนอร์เห็นว่าเด็กวัยอนุบาลอยู่ในระดับ Iconic representation ซึ่งการเรียนรู้ต่าง ๆ อยู่ในลักษณะของการกระทำโดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ นอกจากนี้เขากล่าวว่าเด็กวัยนี้ไม่สามารถรออะไรได้นาน ๆ เราควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงทีที่ทำงานแต่ละครั้งเสร็จ
บรูเนอร์ยังได้เสนออีกว่า ในการสอนเด็กระดับนี้ ควรให้มีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรนไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่าง ๆเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจเด็กประถมต้นยังอยู่ในวัย Iconic representation เด็กวัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้ บรูเนอร์ได้นำการทดลองของเปียเจท์เกี่ยวกับการรินน้ำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถสร้างภาพในใจได้ และสามารถที่จะกระตุ้นให้อธิบายความคิดออกมาได้ ครั้งแรกบรูเนอร์ให้เด็กดูแก้ว 2 ใบ ที่ใส่น้ำไว้เท่ากัน พร้อมกับแก้วเปล่าอีก 2 ใบ ใบหนึ่งมีขนาดใหญ่ อีกใบหนึ่งเล็กยาว ต่อจากนั้นเขารินน้ำจากแก้วทั้งสองใบใส่แก้วเปล่าทั้งสองใบโดยไม่ให้เด็กเห็นและให้เด็กลองคิดดูว่าระดับน้ำในแก้ว 2 ใบนั้นจะเท่ากันหรือต่างกัน ผลปรากฏว่าเด็กส่วนใหญ่ทำนายได้ถูกต้อง แต่เมื่อบรูเนอร์ให้คิดว่าถ้าจะรินน้ำจากแก้ว 2 ใบนี้กลับไปสู่แก้วเดิม 2 ใบที่เท่ากัน ระดับจะเป็นอย่างไร เด็กตอบไม่ถูก จากการทดลองของบรูเนอร์สรุปได้ว่า เราสามารถสร้างให้เด็กเกิด concept เกี่ยวกับ conservationได้เร็วขึ้นหน่อย แต่ไม่สามารถ ที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ ความคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับเด็กวัยนี้ คือ ยังต้องการการสนองความพึงพอใจอย่างทันท่วงทีภายหลังที่ทำงานเสร็จ และบรรยากาศที่ผ่อนปรนไม่ตรึงเครียดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

ระดับประถมปลาย

        บรูเนอร์ กล่าวว่า เด็กในระดับประถมปลายมีพัฒนาจาก Iconic representation ไป สู่ Symbolic representation ซึ่งสิ่งที่บรูเนอร์เน้นนี้คล้ายคลึงกับแนวความคิดของเปียเจท์ในหลักการทั่วไป แต่ต่างกันในเรื่องต่อไปนี้“พัฒนาการทางสติปัญญาจะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลายๆตัวในเวลาเดียวกันและสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้น ๆ”

ระดับมัธยมศึกษา

         การใช้สัญลักษณ์ (Symbolic representation) ของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยกระตุ้นให้ใช้discovery approach โดยเน้นความเข้า ใจใน concept และสิ่งที่เป็นนามธรรมต่าง ๆ



 การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของฟรอยด์

1.ความพร้อมจะเกิดขึ้นได้โดยการที่ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็ก
2.ครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในช่วง 6 ปีแรก
3.ไม่ต้องรอให้เด็กพ้อมก็เข้าโรงเรียนได้โดยครูเป็นคนจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความพร้อมเอง
4.ช่วงต่างๆของพัฒนาการไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าเด็กควรอ่าน ควรพูดวิชาต่างๆได้แล้ว
5.สิ่งที่ครูพูดนั้น เป็นสิ่งที่ครูจะต้องคิดว่าจะสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคน



  การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของเพียเจต์

         เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
        1.ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
        2.ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรม

หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
        - เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
        - เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
        - เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
        - เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
        -ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง

การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
       - ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
       - ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
       - ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
       - เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
       - ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
       - ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
       - ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
       - ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)

ขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
       - มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
       - พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
       - ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
   ในการจัดการเรียนรู้ให้วัยรุ่นควรจัดให้รู้จักคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา เช่น การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ การสอนแบใช้ความคิดรวบยอด



การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอน
ของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

         ครูสามารถที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้จากของจริงให้มากที่สุด เช่น ถ้าสอนวิชาประวัติศาสตร ก็จะพาผู้เรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ




                 การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอน
ทฤษฎีพัฒนาจิต-สังคมของอิริคสัน

          ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต สังคมของอีริคสันส่งผลให้วงการศึกษาตื่นตัวอย่างน้อยที่สุด 2 เรื่องคือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้





                 การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอน
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ โคห์ลเบิร์ก

        ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ และใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม


นักจิตวิทยากลุ่มพัฒนาการ


เจโรม บรูเนอร์




                   เจโรม บรุนเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์คเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2458ในปี .. 1915 พ่อแม่หวังจะให้เป็นนักกฎหมาย แต่เขากลับมาสนใจทางจิตวิทยา และได้ปริญญาเอกทางจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี .. 1962 ได้รับรางวัลในฐานะที่มีผลงานดีเด่น คือ Distinguished Scientific Contri-bution Award จากสมาคมจิตวิทยาของอเมริกา (APA) ต่อมาในปี ..1964 ได้เป็นประธานของ The American Psychological Association (APA) ปัจจุบันเป็นสมาชิกของ Department of Experimental Psychology ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และในขณะนี้มีตำแหน่งเป็นผู้-อำนวยการของ Harvard’s Center for Cognitive Studies.

         ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์ บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
         บรูเนอร์มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
     บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ของบรุนเนอร์ มีดังนี้ (Brunner,1963:1-54)

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ คือ
1.    ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2.    ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3.    ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

ทฤษฎีพัฒนาการทางสมอง

        เน้นที่การถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยลักษณะต่าง ดังนี้

1. Enactive representation (ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ)

         ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ 2 ขวบเป็นช่วงที่เด็กแสดงให้เห็นถึงความมีสติ ปัญญาด้วยการกระทำ และการกระทำด้วยวิธีนี้ยังดำเนินต่อไปเรื่อย เป็นลักษณะของการถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยการ
กระทำซึ่งดำเนินต่อไปตลอดชีวิต มิได้หยุดอยู่เพียงในช่วงอายุใดอายุหนึ่ง
         บรูเนอร์อธิบายในแง่ที่ว่า เด็กใช้การกระทำแทนสิ่งต่าง หรือประสบการณ์ต่าง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจ เขาได้ยกตัวอย่างจากการศึกษาของเปียเจท์ ในกรณีที่เด็กเล็ก นอนอยู่ในเปลและเขย่ากระดิ่งเล่น ขณะที่เขย่าบังเอิญทำกระดิ่งตกข้างเปลเด็กจะหยุดนิดหนึ่งแล้วยกมือขึ้นดู เด็กทำท่าประหลาดใจและเขย่ามือเล่นต่อไป
         จากการศึกษานี้บรูเนอร์ให้ข้อแนะว่า การที่เด็กเขย่ามือต่อไปโดยที่ไม่มีกระดิ่งนั้น เพราะเด็กคิดว่ามือนั้นคือกระดิ่ง และเมื่อเขย่ามือก็จะได้ยินเสียงเหมือนเขย่ากระดิ่งนั่นคือ เด็กถ่ายทอดสิ่งของ (กระดิ่ง) หรือประสบการณ์ ด้วยการกระทำ ตามความหมายของ บรูเนอร์เกี่ยวกับเรื่องนี้บรูเนอร์ให้ความเห็นว่า ในชีวิตประจำวันของเรานั้น บางครั้งจะพบว่าคนโต จะยังใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ ซึ่งให้ผลดีกว่าการอธิบายด้วยคำพูด เช่น การสอนคนให้ขี่จักรยาน หรือเล่นเทนนิส หรือการกระทำอื่น อีกหลายอย่างเราจะพบว่าวิธีที่ดีที่สุด คือ แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะได้ผลดีกว่าการอธิบาย เพราะเราจะพบว่าเป็นการยากเหลือเกินที่จะอธิบายให้ฟังเป็นขั้นตอน และบางครั้งก็มิสามารถหาคำพูดมาอธิบายได้ เพื่อให้คนมองเห็นภาพ แต่ถ้าเรากระทำให้ดู (acting) โดยมิต้องใช้คำพูดอธิบายผู้เรียนจะเข้าใจทันที ดังนั้นบรูเนอร์จึงมิได้แบ่งพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจให้หยุดอยู่เพียงในระยะแรกของชีวิตเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นกระบวนการต่อเนื่องคนจะนำมาใช้ในช่วงใดของชีวิตอีกก็ได้

2. Iconic representation (
ขั้นการเรียนรู้จากความคิด)

          พัฒนาการทางความคิดในขั้นนี้อยู่ที่การมองเห็นและการใช้ประสาทสัมผัสต่าง จากตัวอย่างของเปียเจท์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเด็กอายุมากขึ้นประมาณ 2-3 เดือน ทำของเล่นตกข้างเปล เด็กจะมองหาของเล่นนั้น ถ้าผู้ใหญ่แกล้งหยิบเอาไป เด็กจะหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อมองไม่เห็นของ บรูเนอร์ตีความว่า การที่เด็กมองหาของเล่นและร้องไห้ หรือแสดงอาการหงุดหงิดเมื่อไม่พบของ แสดงให้เห็นว่าในวัยนี้เด็กมีภาพแทนในใจ (iconic representation) ซึ่งต่างจากวัย enactive เด็กคิดว่าการสั่นมือกับการสั่นกระดิ่งเป็นของสิ่งเดียวกัน เมื่อกระดิ่งตกหายไป ก็ไม่สนใจ แต่ยังคงสั่นมือต่อไป
          การที่เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ด้วยการมีภาพแทนในใจ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กโตจะยิ่งสามารถสร้างภาพในใจได้มากขึ้น เช่น การทดลองของบรูเนอร์ (1964) กับเด็ฏวัย 5-7 ขวบ โดยให้จัดเรียงลำดับแก้วซึ่งมีขนาดต่าง กัน 9 ใบ

การทดลอง

          ครั้งแรกบรูเนอร์ให้เด็กดูภาพจากการจัดแก้ว 9 ใบ ดังแสดงในรูป ต่อจากนั้นหยิบแก้ว ออกทีละแถว และให้เด็กจัดเองให้เหมือนเดิม จากนั้นหยิบแก้วทั้ง 9 ใบ ออกจากตะแกรงและให้เด็กจัดให้เหมือนเดิม ปรากฏว่าเด็กวัย 5 ขวบ และ 7 ขวบ สามารถทำได้ ความแตกต่างระหว่างเด็ก 2 วัยนี้คือ เมื่อบรูเนอร์ให้ เรียงสลับ โดยให้เริ่มจากใบใหญ่ให้อยู่ทาง ซ้ายมือ ปรากฏว่าเด็กวัย 5 ขวบ เริ่มต้นอย่างถูกต้อง แต่แล้วก็งง ในที่สุดจัดออกมาเหมือนแบบที่ให้ดูตั้งแต่แรก ส่วนเด็กวัย 7 ขวบนั้น สามารถเรียงสลับได้อย่างถูกต้อง บรูเนอร์จึงสรุปว่า การเกิดภาพในใจซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ทั้งนี้เพราะเด็กรู้จักที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาเป็นสัญลักษณ์ (Symbolic)

3. Symbolic representation (ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม)

          หมายถึงการถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง โดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิดขั้นนี้เป็นขั้นที่บรูเนอร์ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ เด็กสามารถคิดหาเหตุผล และในที่สุดจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถแก้ปัญหาได้ บรูเนอร์มีความเห็นว่าความรู้ความเข้าใจและภาษามีพัฒนาการขึ้นมาพร้อมๆกัน




สรุป

          บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า acting, imaging และ symbolizingเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรก  ของชีวิตเท่านั้น


ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอน
          Jerome S.Bruner เป็นผู้ที่มีความเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูสามารถช่วยจัดประสบการณ์เพื่อช่วยให้เด็กเกิดความพร้อมได้ โดยไม่ต้องรอให้เด็กพร้อมตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเสียเวลา นั่นหมายความว่าตามความคิดเห็นของบรูเนอร์แล้ว ความพร้อมเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดเร็วขึ้นได้

หลักการสอน

          บรูเนอร์ (1966) กล่าวว่า ทฤษฎีการสอนใด  ก็ตาม ควรประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ ซึ่งข้อเสนอแนะของเขามีคุณค่าอย่างใหญ่หลวงต่อการวางแผนการสอนในปัจจุบัน

1. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกให้ทราบว่าเด็กวัยก่อนเรียนควรจะมีประสบการณ์อะไรที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนในโรงเรียนต่อไป เพื่อครูจะได้นำประสบการณ์นั้นมาใช้ในการสอน

2. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกให้ทราบว่า จะจัดโครงสร้างของความรู้อย่างไรที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งในการจัดนั้นจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั้ง 3 ของการแก้ปัญหาของเด็กด้วย คือ 1) การใช้การกระทำ 2) การสร้างภายในใจ และ 3) การใช้สัญลักษณ์

3. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกถึงลำดับขั้นของการเสนอเนื้อหาและใช้วัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั้ง 3 ของการแก้ปัญหาของเด็กดังกล่าวแล้วด้วย ซึ่งบรูเนอร์ได้เสริมว่าไม่มีลำดับขั้นใดจะมีประสิทธิภาพสำหรับเด็กทุกคนครูจะต้องคำนึงถึงทั้งลักษณะของวัสดุอุปกรณ์นั้นๆและความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. ทฤษฎีการสอนควรจะบอกว่าจะใช้การให้รางวัลและการลงโทษอย่างไรและ เมื่อใด ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญ

          ท้ายที่สุดบรูเนอร์ได้สรุปให้เห็นว่า พัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่างเนื้อหาสาระ ครูและผู้เรียนมิใช่เป็นเพียงการให้ผู้เรียนจำเนื้อหาสาระได้เท่านั้น แต่ครูจะต้องช่วยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับเนื้อหาสาระซึ่งทำให้พัฒนาความรู้ใหม่

ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีของเปียเจท์และบรูเนอร์

1.เปียเจท์มองเห็นว่าพัฒนาการทางสมองของเด็กมีขั้นตอนซึ่งขึ้นอยู่กับอายุกำหนดลงไปเลยว่าเด็กในวัยใดจะมีพัฒนาการทางสมองในเรื่องใดบรูเนอร์มิได้คำนึงถึงอายุเห็นว่ากิจกรรมต่างๆที่เด็กทำอันสืบเนื่องมาจากพัฒนาการทางสมองที่เกิดในช่วงแรกของชีวิตคนก็ยังนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในช่วงหลัง  ของชีวิตอีกเช่นกัน มิได้แบ่งเป็นช่วง  ดังเช่นของเปียเจท์

2.เปียเจท์คำนึงถึงพัฒนาการทางสมองในแง่ของความสามารถในการกระทำสิ่งต่างๆในแต่ละวัย แต่บรูเนอร์คำนึงในแง่ของกระบวนการ (process) ที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

3.บรูเนอร์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะทำให้พัฒนาการทางสมองช้าลงหรือหยุดชงักลง และสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะช่วยให้พัฒนาการทางสมองเป็นไปอย่างรวดเร็ว

วีดิโอที่เกี่ยวข้อง


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา






ซิกมันด์ ฟรอยด์




        ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 06 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 และเสียชีวิตเมื่อวันที 23 กันยายน ค.ศ. 1939 เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual

ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ

1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต

2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย

       
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
      
        ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ

1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต

2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย

         ฟรอยด์ได้กล่าวถึงพลังงานพื้นฐานทางจิตที่เรียกว่า Libido ซึ่งเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ พลังงานเหล่านี้เป็นแหล่งของแรงขับทางเพศของบุคคลทั้งหมด โดยเน้นว่าชีวิตเพศของมนุษย์มิได้เริ่มเมื่อวัยหนุ่มสาว หากแต่เริ่มมาตั้งแต่เด็กและจะค่อยๆ พัฒนาเปลี่ยนรูปแบบเป็นลำดับขั้นขึ้นไป แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามขั้นจะมีการชะงัก (Fixation) หรือการถอยกลับ (Regression) ทำให้มีผลสะท้อนไปถึงบุคลิกภาพตอนโต
         กลุ่มจิตวิเคราะห์แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพตามความเชื่อของฟรอยด์ เขาเชื่อว่า อิทธิพลที่ทำให้เกิดบุคลิกภาพในตัวบุคคลนั้น ประกอบด้วยสิ่งที่สำคัญ 3 ประการคือ จิตใต้สำนึกและอิทธิพลของจิตใต้สำนึก (Unconscious) ฟรอยด์มีความเชื่อว่า สมองของคนเรานั้นทำงานอย่างมีกระบวนการ (Mind) โดยเขาได้แบ่งกิจกรรมของ Mind ไว้ 3 ระดับด้วยกันคือ

1. จิตรู้สำนึก (The Concious mind) หรือที่เราเรียกว่าสติสัมปชัญญะ จะทำงานในขณะที่ร่างกายรู้สึกตัวดี ซึ่งเราสามารถควบคุมการทำงานของสมองส่วนนี้ได้ ยกเว้นเวลาเราเจ็บป่วยหรือนอนหลับ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาพหลอน หรือเมื่อตื่นขึ้นมาจำอะไรไม่ได้

2. จิตก่อนสำนึก (The pre-concious mind) เนื่องจากจิตได้รับประสบการณ์ในชีวิตมามากมายหลายอย่าง จนทำให้ไม่สามารถที่จะจดจำได้ทั้งหมด สมองส่วนนี้ต้องเลือกจำในบางอย่างแต่บางอย่างอาจจะลืมไป ซึ่งส่วนที่ลืมนี้บางครั้งกระตุ้นนิดเดียวก็จำได้ เช่น การเก็บกดความรู้สึกที่ไม่พอใจจนกระทั่งลืม เช่น ลมชื่อคนบางคนที่เราไม่ชอบ นึกชื่ออาจารย์ไม่ออก ลืมการนัดหมาย ถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นเป็นโรค เพื่อลืมเหตุการณ์ทุกอย่างในอดีต กระทั่งชื่อตัวเอง ว่าเป็นใครมาจากไหน เช่น การพลั้งปากเรียกชื่อคนบางคน

3. จิตใต้สำนึก (The Unconciuos mind) เป็นขบวนการทำงานของสมองที่รวบรวมเอาความคิด ความรู้สึก ความจำ ความปรารถนา และประสบการณ์ต่างๆเข้ามาในชีวิต (รวมทั้งถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์) และสิ่งนี้จะคงอยู่ตลอดชีวิต ปกติจิตใต้สำนึกนี้ทำงานไปโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย นอกจากจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการสะกดจิต ยาบางชนิดหรือสิ่งมึนเมา

ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้ 5 ขั้นตอน คือ


           1.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณปาก (oral stage)
มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิด-18 เดือนหรือวัยทารก ความพึงพอใจของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่น การดูด กลืน

           2.ขั้นความสุขความพอใจบริเวณทวารหนัก (anal stage)
มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอใจจากการขับถ่าย

           3.ขั้นความพอใจบริเวณอวัยวะเพศ (phallic or oedipal stage)
จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตนและสนใจความความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย

            4.ขั้นแฝงหรือขั้นก่อนวัยรุ่น (latency stage)
มีอายุอยู่ในช่วง 7 ถึง 14 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญา เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

            5.ขั้นสนใจเพศตรงข้ามหรือขั้นวัยรุ่น (genital stage)
วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลงต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่

         ฟรอยด์กล่าวว่า ถ้าเด็กโชคดี และผ่านวัยแต่ละวัย โดยไม่มีปัญหาก็จะเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหา ในแต่ละขั้นของพัฒนาการ ก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ ซึ่งฟรอยด์ได้ตั้งชื่อตามแต่ละวัย เช่น "Oral Personalities” เป็นผลของ Fixation ในวัยทารกจนถึง 2 ปี ผู้ใหญ่ที่มี Oral Personality เป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะหาความพึงพอใจ ทางปากอย่างไม่จำกัด เช่น สูบบุหรี่ กัดนิ้ว ดูดนิ้ว รับประทานมาก มีความสุขในการกิน และชอบดื่ม คนที่มี Oral Personality อาจจะเป็นผู้ที่เห็นโลกในทางดี (Optimist) มากเกินไป จนถึงกับเป็นคนที่ไม่ยอมรับความจริงของชีวิต หรืออาจจะเป็น คนที่แสดงตนว่าเป็นคนเก่ง ไม่กลัวใคร และใช้ปากเป็นเครื่องมือ เช่น ชอบพูดเยาะเย้ย ถากถางและกระแนะกระแหนผู้อื่น

ถ้า Fixation เกิดในระยะที่ 2 ของชีวิต คือ อายุราวๆ 2-3 ปี จะทำให้บุคคลนั้น มีบุคลิกภาพแบบ Anal Personality ซึ่งอาจจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

(1) เป็นคนเจ้าสะอาดมากเกินไป (Obsessively Clean) และเรียบร้อยเจ้าระเบียบ เข้มงวด และเป็นคนที่ต้องทำอะไรตามกฎเกณฑ์ เปลี่ยนแนวไม่ได้

(2) อาจจะมีลักษณะตรงข้ามเลย คือ รุงรัง ไม่เป็นระเบียบ

(3) อาจจะเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่ก็ได้ ผู้ชายที่แต่งงานก็คิดว่า ตนเป็นเจ้าของ "ผู้หญิง” ที่เป็นภรรยาเก็บไว้แต่ในบ้าน หึงหวงจนทำให้ภรรยาไม่มีความสุข ผู้หญิงที่มี Anal personality ก็จะหึงหวงสามีมาก จนทำให้ชีวิตสมรสไม่มีความสุข

ความสำคัญของความรู้สึกทางเพศของทารก (แรงขับทางเพศ Sexual drive)


        ฟรอยด์ (Freud, 1962) ได้เน้นถึงหน้าที่ของ Superegoในระยะที่เด็กต้องแก้ปมออดิปุส (Oedipus complex) มีดังนี้

1. เด็กแรกเกิดรักตนเอง (Narsisism)อยากให้ตนเองได้รับความสุข ต้องการไดรับการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม ยังไม่รู้จักรักคนอื่น

2. บุคคลที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นคนแรกคือ แม่ ทำให้เด็กรักและหวงแหนแม่เป็นคนแรก เด็กกลัวเสียความรักจากแม่

3. เด็กเรียนรู้ว่า พ่อมีอำนาจที่จะแย่งความรักของแม่ไปจากตน พ่อกลายเป็นคนแข่งที่สำคัญมาก

4. เด็กรู้ว่าตนเองด้อยกว่าพ่อทุกอย่าง ไม่มีโอกาสที่จะแข่งดีกับพ่อ จึงต้องการให้พ่อตายจากไปเสีย (ฟรอยด์เปรียบเทียบเช่นเดียวกับนิยายกรีก เรื่อง ออดิปุส ที่ได้ฆ่าพ่อแล้วแต่งงานกับแม่โดยไม่รู้ว่าบุคคลทั้งสองเป็นพ่อแม่ของตน) ฟรอยด์จึงเรียกลักษณะปมยุ่งยากทางจิตตอนนี้ว่า Oedipus complex

5. Super ego จะเป็นพลังจิตที่คอยบอกให้ทราบว่าความต้องการที่จะให้พ่อตายนั้นเป็นบาป จึงเกิดการสกัดกั้นให้ความต้องการนั้นจมไปสู่จิตไร้สำนึก

6. หลักแห่งความจริง (Principle of reality) สอนให้เด็กเปลี่ยนวิธีใหม่ คือ เมื่อเอาชนะไม่ได้ก็ตีสนิทเป็นพวกเดียวกัน โดยวิธีที่เรียกว่า เด็กชายทำได้ดีเพราะเป็นเพศเดียวกับพ่อ

ระยะที่เด็กต้องแก้ปมอิเล็คตรา (Electra complex) มีดังนี้


         เด็กหญิงนั้นทำตัวเป็นเพศเดียวกับพ่อไม่ได้ เพราะเป็นคนละเพศ จึงหันมาสังเกตว่า พ่อก็รักแม่ เด็กหญิงจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้กลไกป้องกันตน โดยเก็บความรู้สึกต้องการของตน ดังนั้นจึงทำตัวเลียนแบบเหมือนแม่ เพื่อที่จะได้รับความรักจากพ่อด้วย จึงปฏิบัติหน้าที่ “ผู้หญิง” เช่นเดียวกับแม่สืบไป
         ฟรอยด์เชื่อว่าวัยเด็กนี้ เรียนรู้ที่จะแยกเพศและเลียนแบบการเป็นผู้หญิงผู้ชายในช่วงระยะนี้ ครอบครัวใดมีการทะเลาะกันบ่อยๆ พ่อเมาทุบตีแม่ สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพต่อไป เช่น เด็กผู้หญิงอาจเกิดความรู้สึกเกลียดผู้ชายอย่างฝังใจ หรือเด็กผู้หญิงบางคนมีความรู้สึกไม่อยากเป็นผู้หญิง เพราะเป็นผู้หญิงแล้วถูกรังแก จึงพยายามทำตัวให้เข้มแข็งมีบุคลิกภาพคล้ายผู้ชาย (tomboy) ส่วนเด็กผู้ชายประกอบด้วยความสงสารแม่ เด็กชายก็จะทำตนเหมือนแม่ พยายามทำตัวนุ่มนวล มีลักษณะคล้ายผู้หญิง (sissy)

วีดิโอที่เกี่ยวข้อง






ฌอง เพียเจต์




        ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget : 1896-1980) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียนจบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาสัตววิทยา หลังจากที่เขาเรียนจบแล้วได้ทำงานกับนายแพทย์บีเนต์และซีโม ซึ่งเป็นผู้สร้างข้อสอบเชาวน์ เพียเจท์พบว่าคำตอบของเด็กเล็กกับเด็กโตจะตอบไม่เหมือนกัน และสรุปได้ว่า คำตอบของเด็กวัยต่างจะแตกต่างกันและไม่ควรด่วนสรุปว่าเด็กโตฉลาดกว่าเด็กเล็ก หรือคำตอบของเด็กเล็กจะผิดเสมอ
        จุดเริ่มต้นของการศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก โดยเริ่มจากลูกทั้ง 3 คนของพวกเขา เป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน เพียเจต์ได้บันทึกและเขียนเป็นรายงานในการสังเกตของเขาไม่เฉพาะเป็นภาษฝรั่งเศษเท่านั้นที่ทำให้เข้าใจยาก แต่เนื้อหาและสาระก็ทำให้เข้าใจยากเหมือนกัน ต่อมาได้มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษและสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

       ทฤษฎีการเรียนรู้  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

      1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น

      2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ
             -  ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก
               - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

      3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี

        4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น

2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่

3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย

4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้

5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง

6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาตามช่วงวัย มีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

  • โครงสร้างทางปัญญา (Schema) คือ วิธีการในการเรียนรู้และทำความเข้าใจผ่านประสบการณ์ที่มี และนำประสบการณ์นั้นมาจัดหมวดหมู่ เช่น เด็กที่มาจากครอบครัวที่เลี้ยงสุนัขตัวเล็กมาตลอด จะเข้าใจว่า สุนัขทุกตัวมีขนาดเล็ก ร่าเริง มีขนปุย และมีสี่ขา เมื่อเห็นสุนัขตัวเล็กตัวอื่นๆ เด็กก็จะเข้าใจว่าเป็นสุนัข 
  • การซึมซับหรือการดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการในการรับรู้เรื่องราว และข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมจากประสบการณ์เดิม เพื่อใช้ต่อไปภายหลัง เช่น เมื่อเด็กคนดังกล่าวได้เห็นสุนัขตัวโตเป็นครั้งแรก ประสบการณ์นี้จะเปลี่ยนสิ่งที่เด็กได้รับรู้มาแต่เดิมให้กลายเป็นความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ๆ 
  • การปรับและจัดระบบ (Accommodation) คือ กระบวนการในการนำประสบการณ์ใหม่มาปรับเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ทำให้เกิดระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา (Schema) ใหม่ขึ้น เช่น ครั้งต่อไป ไม่ว่าเด็กคนดังกล่าวเห็นสุนัขตัวเล็กหรือใหญ่ เขาจะเรียกว่าสุนัขทั้งหมด 
  • การเกิดความสมดุล (Equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ ความสมดุลนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง

วีดิโอที่เกี่ยวข้อง








ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)



           ลอว์เร Kohlberg (25 ตุลาคม 1927 - 19 มกราคม 1987) เป็น อเมริกันยิว นักจิตวิทยา ที่เกิดใน Bronxville, New York , ที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็น Harvard University . มีผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาคุณธรรมและเหตุผล ที่เขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับเขา ในทฤษฎีของขั้นตอนของการพัฒนาจริยธรรม . ลูกศิษย์ใกล้ชิดของ Jean Piaget 's ทฤษฎีของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การทำงานของ Kohlberg สะท้อนและขยายความคิด ของบรรพบุรุษของเขาในเวลาเดียวกันการสร้างเขตข้อมูลใหม่ภายในจิตวิทยา "การพัฒนาคุณธรรม" นักวิชาการ เช่น เอลเลียต Turiel และ Rest เจมส์ มีการตอบสนองการทำงานของ Kohlberg กับผลงานของตัวเองอย่างมีนัยสำคัญ ในการศึกษาเชิงประจักษ์โดย Haggbloom et al,โดยใช้เกณฑ์หกเช่นการอ้างอิงและการรับรู้, Kohlberg ถูกพบว่าเป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของศตวรรษที่ 30 20

แนวคิด

เด็กยังไม่มีคุณธรรมภายในใจของตนเองเด็กเข้าใจเหตุผลของการกระทำจากการยอมรับให้เรื่องการลงโทษและการได้รับรางวัล ในพฤติกรรมที่ดี เช่น “การขโมยไม่ดี เพราะจะโดนลงโทษ”

ขั้นตอนของการพัฒนาคุณธรรม

ในปี 1958 วิทยานิพนธ์ของเขา, Kohlberg เขียนสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันในขณะนี้เป็น ขั้นตอน Kohlberg ของการพัฒนาคุณธรรม . ขั้นตอนเหล่านี้เป็นเครื่องบินของคุณธรรมเพียงพอรู้สึกที่จะอธิบายการพัฒนาของ เหตุผลเชิงจริยธรรม . ที่สร้างในขณะที่เรียนจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยชิคาโกทฤษฎีแรงบันดาลใจจากการทำงานของ Jean Piaget และเสน่ห์กับปฏิกิริยาของเด็กที่ ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม . Kohlberg เสนอรูปแบบของการศึกษา "โสคราตีส" คุณธรรมและยืนยันความคิด ที่ดิวอี้ของการพัฒนาที่ควร เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา นอกจากนี้เขายังอธิบายวิธีการศึกษาจะมีผลต่อการพัฒนาจริยธรรมโดยการปลูกฝังและวิธีการที่โรงเรียนของรัฐสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาทางศีลธรรมที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรพระองค์ ทฤษฎี ถือที่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของการ มีจริยธรรม พฤติกรรมมีหกที่สามารถระบุตัวพัฒนาการที่สร้างสรรค์ ขั้นตอน - แต่ละเพิ่มเติมเพียงพอที่ตอบสนองต่อประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมมากกว่าครั้ง ในการศึกษาเหล่านี้ Kohlbergตามการพัฒนาของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เป็น ไกลเกินกว่าวัย แต่เดิมการศึกษาก่อนหน้าโดยเพียเจต์,ที่ยังอ้างตรรกะที่และศีลธรรมพัฒนาผ่านขั้นตอนการก่อสร้าง การขยายอย่างมากเมื่อรากฐานนี้มันถูกกำหนดว่ากระบวนการของการพัฒนาจริยธรรมเป็นกังวลกับหลัก ความยุติธรรม และว่า การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด ช่วงชีวิต ,การเจรจาการวางไข่ได้จากผลปรัชญาของการวิจัยดังกล่าว

        Kohlberg ศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยนำเสนอวิชาที่มี ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม . จากนั้นเขาก็จะจัดหมวดหมู่และจัดให้เหตุผลที่ใช้ในการตอบสนองที่เป็นหนึ่งในหกขั้นตอนที่แตกต่างกันแบ่งออกได้เป็นสามระดับ: Pre-ธรรมดาทั่วไปและการโพสต์ธรรมดา แต่ละระดับที่มีสองขั้นตอนขั้นตอนเหล่านี้อิทธิพลของผู้อื่นและได้ถูกนำมาใช้โดยผู้อื่นเช่น Rest เจมส์ ในการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการกำหนด ในปี 1979


วีดิโอที่เกี่ยวข้อง




 
โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst)



          ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่างานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า “ งานพัฒนาการ ” หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
          ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการ ฮาวิกเฮิร์ส ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว สังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย ดังนั้น ฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่า ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3 อย่าง

1. วุฒิภาวะทางร่างกาย

2. ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่

3. ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล

       3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach)

       กลุ่มนี้นี้ความเห็นว่า ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น “การเร่ง” เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น

       3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach)

กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period)ของการเรียนรู้และการปรับตัวเป็นอย่างมาก

4. สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้นๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์

พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ

1. พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนใน แต่ละวัน

2. พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์

3. พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น

3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)

3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)

4. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)

พัฒนาการตามวัย

ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้

1. วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้

- การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
- การเรียนรู้ทางด้านการรับประทานอาหาร

- การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง การพูด

- การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย

- เริ่มมีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคม และทางกายภาพ

- เริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิด-ถูก และเริ่มพัฒนาทางจริยธรรม

2. วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี) ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้

- พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ

- เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง

- พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน

- พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ค่านิยม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3. วัยรุ่น (12-18 ปี) พัฒนาการที่สำคัญของบุคคลในวัยนี้ คือ

- พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา

- สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้

- พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์

4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (18-35 ปี) ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

- เริ่มต้นประกอบอาชีพ

- เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง

- เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน


5. วัยกลางคน (35-60 ปี) งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
- มีความรับผิดชอบต่อสังคม

- มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว

- รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น

- สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้
6. วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ

- สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง

- สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน

- สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอง





วีดิโอที่เกี่ยวข้อง






อิริคสัน (Erikson)


         อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่ เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุยวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์ มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน
        
อีริคสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีนี้ขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้ดำเนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ ว่ามีบทบาทในการพัฒนาบุคลิกภาพ ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เช่น เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

แนวคิด

        แต่ละคนจะมีประสบการณ์กับวิกฤตภายในเชื่อมโยงกับแต่ละขั้นของชีวิต (จิตวิทยาสังคม) 8 ครั้ง ซึ่งในสามขั้นแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดซึ่งเกิดในช่วงปฐมวัย คือ ขั้นที่ 1 การเชื่อใจ-การไม่เชื่อใจ ขั้นที่ 2 การเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายใจและความสงสัย ขั้นที่3 การคิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด
ทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)

      ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็น
จะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลด
เปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt)

      อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วย
ให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจ
ว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)

    วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง
จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจาก 
การสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่

ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority)

     อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและ
ทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง

ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม (Ego Identity vs Role Confusion)

      อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะ
ทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้ง
หญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood)

      เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมี
ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอม
เห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลย และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมี
บ้านของตนเอง

ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation)

      อีริควันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชน
รุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน
ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้
คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป

ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair)

      วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา
ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมี 
ความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตาย
ยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย        


วีดิโอที่เกี่ยวข้อง