วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาทฤษฎีพัฒนาการ

การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของบรุนเนอร์

          * กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน


            * การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
            * การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
            * ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
            * การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
            * การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี



            * การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
            * การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครูสามารถจัดการสอนเนื้อหาวิชาใด ๆ ให้กับเด็กในช่วงใดของชีวิตก็ได้ ถ้ารู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสม สำหรับวัยรุ่น วัยนี้สามารถคิดอย่างมีเหตุผล แต่อาจจะมิใช่เหตุผลดังที่ผู้ใหญ่คิดดังนั้น ครูอาจทราบเหตุผลของเด็กได้โดยการกระตุ้นให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และการเขียนรายงานโดยไม่มีคะแนน


        จากขั้นพัฒนาการต่าง ๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการ ศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้

ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น

         บรูเนอร์เห็นว่าเด็กวัยอนุบาลอยู่ในระดับ Iconic representation ซึ่งการเรียนรู้ต่าง ๆ อยู่ในลักษณะของการกระทำโดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆ นอกจากนี้เขากล่าวว่าเด็กวัยนี้ไม่สามารถรออะไรได้นาน ๆ เราควรสนองความพึงพอใจให้กับเด็กอย่างทันท่วงทีที่ทำงานแต่ละครั้งเสร็จ
บรูเนอร์ยังได้เสนออีกว่า ในการสอนเด็กระดับนี้ ควรให้มีบรรยากาศของความสนุกสนาน ผ่อนปรนไม่ตึงเครียด และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถต่าง ๆเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจเด็กประถมต้นยังอยู่ในวัย Iconic representation เด็กวัยนี้สามารถสร้างภาพในใจได้ บรูเนอร์ได้นำการทดลองของเปียเจท์เกี่ยวกับการรินน้ำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถสร้างภาพในใจได้ และสามารถที่จะกระตุ้นให้อธิบายความคิดออกมาได้ ครั้งแรกบรูเนอร์ให้เด็กดูแก้ว 2 ใบ ที่ใส่น้ำไว้เท่ากัน พร้อมกับแก้วเปล่าอีก 2 ใบ ใบหนึ่งมีขนาดใหญ่ อีกใบหนึ่งเล็กยาว ต่อจากนั้นเขารินน้ำจากแก้วทั้งสองใบใส่แก้วเปล่าทั้งสองใบโดยไม่ให้เด็กเห็นและให้เด็กลองคิดดูว่าระดับน้ำในแก้ว 2 ใบนั้นจะเท่ากันหรือต่างกัน ผลปรากฏว่าเด็กส่วนใหญ่ทำนายได้ถูกต้อง แต่เมื่อบรูเนอร์ให้คิดว่าถ้าจะรินน้ำจากแก้ว 2 ใบนี้กลับไปสู่แก้วเดิม 2 ใบที่เท่ากัน ระดับจะเป็นอย่างไร เด็กตอบไม่ถูก จากการทดลองของบรูเนอร์สรุปได้ว่า เราสามารถสร้างให้เด็กเกิด concept เกี่ยวกับ conservationได้เร็วขึ้นหน่อย แต่ไม่สามารถ ที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ ความคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับเด็กวัยนี้ คือ ยังต้องการการสนองความพึงพอใจอย่างทันท่วงทีภายหลังที่ทำงานเสร็จ และบรรยากาศที่ผ่อนปรนไม่ตรึงเครียดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

ระดับประถมปลาย

        บรูเนอร์ กล่าวว่า เด็กในระดับประถมปลายมีพัฒนาจาก Iconic representation ไป สู่ Symbolic representation ซึ่งสิ่งที่บรูเนอร์เน้นนี้คล้ายคลึงกับแนวความคิดของเปียเจท์ในหลักการทั่วไป แต่ต่างกันในเรื่องต่อไปนี้“พัฒนาการทางสติปัญญาจะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลายๆตัวในเวลาเดียวกันและสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้น ๆ”

ระดับมัธยมศึกษา

         การใช้สัญลักษณ์ (Symbolic representation) ของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยกระตุ้นให้ใช้discovery approach โดยเน้นความเข้า ใจใน concept และสิ่งที่เป็นนามธรรมต่าง ๆ



 การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของฟรอยด์

1.ความพร้อมจะเกิดขึ้นได้โดยการที่ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็ก
2.ครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในช่วง 6 ปีแรก
3.ไม่ต้องรอให้เด็กพ้อมก็เข้าโรงเรียนได้โดยครูเป็นคนจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความพร้อมเอง
4.ช่วงต่างๆของพัฒนาการไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าเด็กควรอ่าน ควรพูดวิชาต่างๆได้แล้ว
5.สิ่งที่ครูพูดนั้น เป็นสิ่งที่ครูจะต้องคิดว่าจะสอนอย่างไรให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคน



  การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอนของเพียเจต์

         เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
        1.ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
        2.ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรม

หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
        - เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
        - เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
        - เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
        - เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
        -ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง

การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
       - ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
       - ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
       - ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
       - เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
       - ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
       - ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
       - ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
       - ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)

ขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
       - มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
       - พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
       - ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
   ในการจัดการเรียนรู้ให้วัยรุ่นควรจัดให้รู้จักคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา เช่น การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิทยาศาสตร์ การสอนแบใช้ความคิดรวบยอด



การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอน
ของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

         ครูสามารถที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้จากของจริงให้มากที่สุด เช่น ถ้าสอนวิชาประวัติศาสตร ก็จะพาผู้เรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ




                 การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอน
ทฤษฎีพัฒนาจิต-สังคมของอิริคสัน

          ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต สังคมของอีริคสันส่งผลให้วงการศึกษาตื่นตัวอย่างน้อยที่สุด 2 เรื่องคือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้





                 การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา/การสอน
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ โคห์ลเบิร์ก

        ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ และใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น